๑. หลักการและเหตุผล
ครอบครัวเป็นองค์กรขนาดเล็กที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในสังคม เป็นสถาบันแห่ง การเรียนรู้ เริ่มต้นของสังคมทุกสังคม นอกจากนี้สถาบันครอบครัวยังแสดงให้เห็นถึงความรักความผูกพันและ เป็นสถานที่ก่อเกิดความรักความอบอุ่น ความสามัคคีกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกใน ครอบครัว ปัจจุบันสังคมเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การมีรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้น การว่างงาน การพนัน ปัญหายาเสพติด ปัญหาเด็กและเยาวชนติดเกม การตั้งครรภ์ ไม่พึงประสงค์ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อสถาบันครอบครัวทั้งสิ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ของสังคมได้ การปล่อยปะละละเลยซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เป็นปัญหา เรื้อรังส่งผลก่อให้เกิดขึ้นกับครอบครัวในสังคม ควรอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสนใจและให้ความร่วมมือใน การหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สนับสนุนกิจกรรมที่ให้เกิดการเรียนรู้ในการให้ความสำคัญ กับครอบครัว เรียนรู้บทบาทหน้าที่ตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาให้ความรู้กับสตรีสนับสนุนให้เกิดความเสมอ ภาคระหว่างชายหญิงในชุมชน โดยเน้น การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในชุมชน มีพื้นที่สาธารณะสำหรับครอบครัวในชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของแต่ละครอบครัว เพื่อให้ ครอบครัวในชุมชนเกิดความรักความเข้าใจ เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและเกิดการเสริมสร้างชุมชนให้ เข้มแข็ง
องค์การบริการส่วนตำบลละหานปลาค้าว ได้เล็งเห็นความสำคัญและมีหน้าที่รับผิดชอบกับ การหาแนวทางและกลยุทธ์ในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อ การพัฒนาท้องถิ่นและเป็นเกราะป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสังคมต่อในอนาคต จึงได้ดำเนินการจัด โครงการฯดังกล่าวนี้ขึ้น เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัว เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพโดยปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน สมาชิกใน ครอบครัวมีจิตใจดี มีวัฒนธรรม และให้ครอบครัวได้ใช้เวลาว่างอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
๒.๒ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว
๒.๓ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมภาคีเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนให้มีคุณธรรม จริยธรรม น้ สถาบันครอบครัวไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
๓. เป้าหมาย
กลุ่มครอบครัวประกอบด้วยผู้ปกครองและเด็ก จำนวน ๖๐ ครอบครัวๆละ ๒ คน คณะเจ้าหน้าที่ และคณะครู รวมจำนวน ๒๐ คน รวม ๑๔๐ คน ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านละหานสามัคคี
๔. วิธีดำเนินการ
๔.๑ จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการฯ
๔.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการฯ
๔.๓ ติดต่อประสานงานกับวิทยากร,เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์
๔๔ กำหนดวัน เวลา และประชาสัมพันธ์โครงการฯ
๔.๕ รวบรวมกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามโครงการฯ
๔.๖ ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ
ดำเนินกิจกรรมที่ ๑ จัดกิจกรรมสร้างความรู้ให้กับสมาชิกในครอบครัว เนื้อหาประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ ความรัก ความเข้าใจและความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัว สร้างความตระหนักใน บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ สร้างการสื่อสารที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวและการใช้หลักธรรม (คุณธรรม/ จริยธรรมฯลฯ)ในการดำเนินชีวิตครอบครัว การป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับครอบครัว เช่น การมี เพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควรของวัยรุ่น โรคเอดส์ ยาเสพติด แก๊งเด็กแว้นซ์ การยกพวกตีกัน และการติดเกม บุหรี่ไฟฟ้าและกัญชา เป็นต้น
ดำเนินกิจกรรมที่ ๒ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยการให้ ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมฐาน การเล่นเกมแบ่งกลุ่ม เป็นต้น
๔.๗ ติดตามและประเมินผลโครงการฯ
๔.๘ สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
๕.วัน เวลา สถานที่ดำเนินการ
วันศุกร์ที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ หอประชุมโรงเรียนบ้าน ละหานสามัคคี ตำบลละหานปลาค้าว อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
๖.งบประมาณ
ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ แผนงานสร้างความเข็มแข็งของชุมชน งาน ส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชนงบดำเนินงาน ค่าใช้สอย รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายงบรายจ่ายอื่นๆ โครงการครอบครัวอบอุ่น สู่ชุมชนเข้มแข็ง จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาทและบัญชีโอนเงินงบประมาณประจำปี ๒๕๖๗ โอนครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๘ พ.ค. ๒๕๖๗ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๔๐,๐๐๐ บาท
๗.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๔.๑. เด็ก เยาวชน และสมาชิกในครอบครัว มีคุณภาพชีวิต มีจิตใจดี มีคุณกรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดี และครอบครัวได้ใช้เวลาว่างอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
๔.๒ สมาชิกครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตที่ เหมาะสม รู้เท่าทันและเฝ้าระวังปัญหาของครอบครัวที่อาจจะเกิดขึ้น
๔.๓. สมาชิกในครอบครัวมีภาคีเครือข่ายร่วมกันขับเคลื่อนนำครอบครัวไปสู่ความเข็มแข็ง ความ อบอุ่นอย่างยั่งยืน
๘.ผลผลิต
ต่อองค์กรเครือข่าย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรูปแบบ/แนวทางในการบริหารจัดการโครงการ
ต่อเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว
เด็ก เยาวชนและสมาชิกครอบครัวได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดย
ผ่านกิจกรรมตรงด้วยตนเอง
๙.ผลลัพธ์
ต่อองค์กรเครือข่าย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยการ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ต่อเด็ก/ครอบครัว
เด็ก เยาวชนและสมาชิกครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยตนเอง
|