โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ สำหรับการดำเนินงานตามแนวทางโครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วันที่ 20 กันยายน 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลละหานปลาค้าว
หลักการและเหตุผล
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการริเริ่มโครงการพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุขต่าง ๆ เพื่อดูแลรักษาให้ราษฎรทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ พระองค์ไม่เพียงก่อตั้งโครงการเพื่อคอยช่วยเหลือราษฎรเท่านั้น แต่ยังทรงมีพระราชดำริก่อตั้งโครงการที่สามารถทำให้ประชาชนพึ่งพิงตนเองอย่างยั่งยืนในด้านสาธารณสุขได้เช่นกัน นั้นคือการจัดตั้ง “โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์” โดยโครงการนี้ จะทำหน้าที่คัดเลือกคนในหมู่บ้านให้มารับการฝึกอบรม การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การรักษาโรคอย่างง่าย เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมหมู่บ้านของตนได้
งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลละหานปลาค้าว ได้เล็งเห็น และตระหนัก ถึงความสำคัญของโครงการ ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้าง สนับสนุน ให้ประชาชนมีความรู้ มีภาวะสุขภาพที่ดี ได้รับการดูแลด้านสาธารณสุขเบื้องต้นโดยพึ่งพิงตนเอง ได้อย่างถูกต้อง และได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นได้ก่อนนำส่งต่อสถานพยาบาลต่อไป จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการอบรมหมอหมู่บ้าน ในพระราชประสงค์ นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสำหรับประชาชน
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะและประโยชน์สมุนไพร
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
5. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการแพทย์แผนไทย
6. เพื่อจัดบริการ การรักษาด้านการแพทย์ให้ประชาชน มีทัศนคติต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือกมากขึ้น
เป้าหมายของโครงการ
ประชาชนตำบลละหานปลาค้าว หมู่ที่ 1 ,หมู่ที่ 2 ,หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7 ,หมู่ที่ 8 ,หมู่ที่ 9,หมู่ที่ 10 และ หมู่ที่ 12 จำนวน 170 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการฟื้นคืนชีพ
2. ประชาชนสามารถปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพได้
3. ประชาชนมีความรู้และทักษะและประโยชน์สมุนไพร
4. ประชาชนมีความรู้และทักษะในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร
5. ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการแพทย์แผนไทย
6. ประชาชนมีทัศนคติต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือกมากขึ้น
|